พร้อมรับมือ..หน้าร้อน

3639 จำนวนผู้เข้าชม  | 



 

        ช่วงนี้อากาศร้อนมากเลยนะคะ ยิ่งตอนเที่ยง ยิ่งไม่ต้องพูดถึง แทบจะไม่อยากก้าวออกไปข้างนอกกันเลยทีเดียว ถ้าไม่ติดว่าต้องไปหาของกิน ^__^

        อากาศร้อน ๆ อย่างนี้ นอกจากจะต้องดูแลสุขภาพผิวกายเป็นพิเศษ ด้วยการทากันแดดที่มีประสิทธิภาพแล้ว อีกอย่างที่เราต้องระวังก็คือ อันตรายที่จะเกิดขึ้นกับสุขภาพของเรา "โรคลมแดด (Heat stroke)" นั่นเองค่ะ เรามาทำความรู้จักและเตรียมรับมือกับโรคนี้กันดีกว่าค่ะ


 
โรคลมแดด คืออะไร ?

        โรคลมแดด เกิดจากการที่ร่างกายของเราได้รับความร้อนมากจนเกินไป ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส อาจสูญเสียความสามารถในการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ถ้าร้ายแรงสมองอาจจะไม่ทำงาน ไม่สามารถควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ได้


เราจะสังเกตอาการของโรคนี้ได้อย่างไร ?



        ไม่มีเหงื่อออก ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อย ๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ มึนงง คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน ซึ่งจะต่างจากการเพลียจากแดดทั่ว ๆ ไป ที่จะพบว่ามีเหงื่อออกด้วย หากเกิดอาการดังกล่าวจะต้องหยุดพักทันที


ใครเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมแดดได้บ้าง ?

          เด็ก หรือ ผู้สูงอายุ

          นักกีฬา ผู้ที่เล่นกีฬาหรือออกกำลังกาย ในอากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน

          ผู้ป่วย หรือ ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคความดันโลหิตสูง

         ผู้ใช้แรงงาน

        ทหาร ตำรวจ

        ผู้ที่พักผ่อนไม่เพียงพอ

          ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์จัด



วิธีการช่วยเหลือเบื้องต้นต้องทำอย่างไร ?



        นำผู้ที่มีอาการเข้าในที่ร่ม ให้นอนราบ ยกเท้าสูงทั้งสองข้าง ถอดเสื้อผ้าออก

        ใช้ผ้าชุบน้ำเย็นหรือน้ำแข็งประคบตามซอกตัว คอ รักแร้ เชิงกราน ศีรษะ ร่วมกับการใช้พัดลมเป่าระบายความร้อน
 
        เทน้ำเย็นราดลงบนตัว เพื่อลดอุณหภูมิร่างกายให้ลดต่ำลงโดยเร็วที่สุด แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

        ในรายที่อาการยังไม่มาก ควรให้ดื่มน้ำเปล่าธรรมดามาก ๆ



วิธีป้องกันตนเองอย่างง่าย ๆ

          หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดด หรือที่อากาศร้อนจัด

                 หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรเตรียมร่างกายให้พร้อมสู้กับอากาศร้อนก่อน เช่น ดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้าน และหมั่นออกกำลังกายกลางแจ้งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อปรับร่างกายให้ชินกับอากาศร้อน และควรวอร์มร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง

        ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ 1-2 ลิตร/วัน และไม่ควรดื่มน้ำที่เย็นจัด หรือ ร้อนจัด จนเกินไป

          สวมเสื้อผ้าที่ระบายความร้อนได้ดี บางเบา และไม่ควรสวมเสื้อผ้าสีเข้ม

    ดูแลเด็ก หญิงมีครรภ์ และผู้สูงอายุ เป็นพิเศษ ให้อยู่ในที่ที่ระบายอากาศดี และไม่ปล่อยให้อยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพัง

         หลีกเลี่ยงการกินยาที่ออกฤทธิ์ทำให้มึนหรือง่วงนอน รวมถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และยาเสพติด


        นอกจาก "โรคลมแดด" แล้ว เรายังต้องระวังโรคอื่น ๆ ที่มักจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูร้อนด้วยนะคะ เช่น เพลียแดด ตะคริวแดด ผิวหนังไหม้แดด ปวดหัว ปวดท้อง ท้องเสีย โดยมีวิธีง่าย ๆ ดังนี้ค่ะ

              เลือกซื้อและรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มั่นใจว่าสะอาด ปราศจากเชื้อโรค


              ทากันแดดที่มีประสิทธิภาพ และไม่อยู่ในที่ที่อากาศร้อนจัดเป็นเวลานาน หากอยู่ในที่อากาศเย็น เช่น ในห้องที่มีเครื่องปรับอากาศ ไม่ควรออกไปในที่ที่อากาศร้อนจัดในทันที

              นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

              ดูแลสุขภาพและสุขอนามัย  โดยเฉพาะของเด็ก หญิงมีครรภ์ และผู้สูงอายุ เป็นพิเศษ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ


 
 
ขอขอบคุณข้อมูลสาระดีดีจาก:
Kapook.com
โรงพยาบาลวิภาวดี


 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้