2517 จำนวนผู้เข้าชม |
คำว่า "ทีฆายุโก" เป็นภาษาบาลี ใช้ ท ทหาร แปลว่า "มีอายุยืน"
เมื่อรวมข้อความที่ว่า "ทีฆายุโก โหตุ มหาราชา" ตามอักษรก็แปลว่า
"ขอพระมหาราชจงทรงมีพระชนมายุยั่งยืนนาน"
และ "ทีฆายุกา" สำหรับพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถนั้น
ก็เป็นการเปลี่ยนรูปตามไวยากรณ์ เพราะ คำว่า "มหาราชา"
เป็นปุงลิงค์ คือเพศชาย จึงต้องใช้ "ทีฆายุโก"
ส่วน "มหาราชินี" เป็น อิตถีลิงค์ คือ เพศหญิง จึงใช้ "ทีฆายุกา"
เหตุที่บางคนเขียนเป็น ฑ นางมณโฑนั้น คงเป็นเพราะ
ตัว ฑ อยู่ใกล้กับ ฆ (ระฆัง) ซึ่งมีหัวหยัก เลยทำให้ ท (ทหาร) มีหัวหยัก
เลยกลายเป็น ฑ (นาง มณโฑ) ตามไปด้วย ฑีฆ" (ฑ นางมณโฑ)
ในภาษาบาลีหรือสันสกฤตที่แปลว่า "ยาว" นั้นไม่มี มีแต่ "ทีฆ" (ท ทหาร) เท่านั้น
ที่มา : คัดลอกจากบทความ “ภาษาไทย ๕ นาที ” โดย อาจารย์จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต
อ่านบทความเต็มได้ที่ http://www.tpschamnong.iirt.net/article/basa_5nt139.html